หน้าแรก UPDATE แมงกะพรุนถ้วยหลากสี กระดึ๊บโผล่ริมหาดจังหวัดระยอง

แมงกะพรุนถ้วยหลากสี กระดึ๊บโผล่ริมหาดจังหวัดระยอง

0
แมงกะพรุนถ้วยหลากสี กระดึ๊บโผล่ริมหาดจังหวัดระยอง

Catostylus-townsendi01
ปรากฎการณ์สุดฮือฮากับแมงกะพรุนหลากสี ที่กระดึ๊บโผล่ริมชายหาดจังหวัดระยอง สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักท่องเที่ยวแห่ชมกันอย่างคึกคักไม่ว่าจะเป็นที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า, บ้านเพ, หาดแม่รำพึง โดยเจ้าดาราแห่งท้องทะเลของเราครั้งนี้ชื่อว่า “แมงกะพรุนถ้วย” ชนิด Catostylus townsendi จัดได้ว่าเป็นแมงกะพรุนที่พบเห็นบ่อยที่สุดในทะเลไทย จากทั้งหมดของแมงกะพรุนทั่วโลกที่มีกว่า 1,500 กว่าชนิด การเจอแมงกะพรุนจำนวนมากในพื้นที่กว้างใหญ่นี้เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เนื่องจากภาวะฝนตกชุกจนน้ำชะล้างเอาธาตุอาหารไหลลงสู่ทะเล บวกกับแสงแดดส่องลงมาดี ทำให้แพลงก์ตอน (plankton) โดยเฉพาะแพลงก์ตอนพืชนั้นอุดมสมบูรณ์ กลายเป็นอาหารอันโอชะของตัวอ่อนแมงกะพรุนจนทำเจริญเติบโตและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แมงกะพรุนมีพิษทุกตัว  เบาหรือแรงแตกต่างกันไปโดยพิษของมันจะอยู่ที่หนวดงามๆ ของมัน หากใครโดนพิษห้ามเกา ห้ามถู เพราะพิษที่ซ่อนอยู่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น  ให้ใช้น้ำฉีดออกให้มากที่สุด แล้วใช้น่ำส้มสายชูราด (อย่าทา) ทิ้งไว้ประมาณ 5 – 10 นาทีแล้วล้างออก (น้ำส้มสายชูมีคุณสมบัติของการยับยั้งเข็มพิษแมงกะพรุน) แล้วใช้ยาแก้คันทั่วไปทาเพื่อบรรเทาอาการ หากคุณต้องการเดินทางไปชมความสวยงามของแมงกะพรุน นอกจากจะต้องระมัดระวังตัวเอง ไม่ให้สัมผัสแมงกะพรุนแล้ว ไม่ควรนำไม้หรืออุปกรณ์ใดๆ ไปสัมผัสแมงกะพรุน เพราะอาจทำให้แมงกะพรุนตายได้ และอาจจะกลายเป็นการทำลายระบบนิเวศทางทะเล
Catostylus-townsendi03
จากสะพานที่มีผู้คนประปราย สะพานที่นักตกปลาต่างเคยมาหย่อนเบ็ด วันนี้สะพานศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งระยอง (หาดแม่รำพึง ตำบลตะพง) กลายเป็นสะพานที่หนาแน่นไปด้วยผู้คนที่ต่างมีจุดมุ่งมายเดียวกันคือการชมความงามของแมงกะพรุน
Catostylus-townsendi02

8 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแมงกะพรุน
1. พิษของแมงกะพรุนไม่เกี่ยวของกับสี
2. แมงกะพรุนว่ายน้ำไม่เก่งเหมือนปลา….เราจึงเห็นมันกระดึ๊บล่องลอยตามกระแสน้ำเป็นหลัก
3. สีของแมงกะพรุนเกิดจากสาหร่ายขนาดจิ๋วที่อยู่ในเนื้อเยื่อของแมงกะพรุน ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการสังเคราะห์แสงและให้พลังงานกับแมงกะพรุนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของสาหร่าย
4. แมงกะพรุนเต็มวัยในช่วงฤดูผสมพันธุ์ จะมีสีสันเข้ม เปล่งปลั่ง ชัดเจน
5. แมงกะพรุนเป็นหนึ่งในสัตว์ดึกดำบรรพ์เมื่อ 700 ล้านปีก่อน
6. แมงกะพรุนกับปะการังเป็นญาติกัน
7. แมงกะพรุนมีอายุสั้นส่วนใหญ่อายุไม่เกิน 1 ปี บางชนิดมีอายุเพียง 2-3 เดือนเท่านั้น
8. ยิ่งแพลงก์ตอน (plankton) มากเท่าไหร่ โอกาสรอดของแมงกะพรุนก็มากขึ้นเท่านั้น

 

ข้อมูลจาก : ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ภาพและเรียบเรียง : ©Rayonghip

 

ประมวลภาพแมงกะพรุนจากผู้คนที่พบเจอ

Catostylus-townsendi04
ก่อนหน้าวันที่แมงกะพรุนจะโผล่ตามข่าวดัง มันเคยโผล่มาก่อนเมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคม (03/07/57) ช่วงประมาณ 17.00 น. แต่จำนวนยังน้อยมาก
ภาพโดย : LADY GA KAEW ณ อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ถ.หาดแม่รำพึง-เพ ต.เพ อ.เมืองระยอง

Catostylus-townsendi05
วันที่ 21 สิงหาคม 2557  พบแมงกะพรุนจำนวนมากที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า
ภาพโดย : อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด

Catostylus-townsendi06
วันที่ 22 สิงหาคม 2557 ภาพนี้ถ่ายตอนกลางวันเวลาประมาณ 15.30 แมงกะพรุนยังไม่หนาตามากนัก
ภาพโดย : Phattaraphorn

Catostylus-townsendi07
วันที่ 23 สิงหาคม 2557 ผู้คนต่างมาชมแมงกะพรุนที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้าแต่พบได้จำนวนน้อยเพราะน้ำพัดพาจนแมงกะพรุนเคลื่อนตัว ภาพโดย คุณนกยูง

Catostylus-townsendi08
แมงกะพรุนที่บ้านเพ ภาพโดย คุณปอและคุณนกยูง

Catostylus-townsendi09
แมงกะพรุน ณ สะพานศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งระยอง (หาดแม่รำพึง ตำบลตะพง)
ภาพโดย Yupaporn Songsathapornjarern / Bon-Bon Lleq

Catostylus-townsendi10
จากสะพานที่มีผู้คนประปราย สะพานที่นักตกปลาต่างเคยมาหย่อนเบ็ด วันนี้สะพานศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งระยอง (หาดแม่รำพึง ตำบลตะพง) กลายเป็นสะพานที่หนาแน่นไปด้วยผู้คนที่ต่างมีจุดมุ่งมายเดียวกันคือการชมความงามของแมงกะพรุน

ขอบคุณภาพจากช่างภาพอิสระ TANADON Photography

รอโหลดข้อความล่างสักครู่ แล้วพิมพ์ความรู้สึกของคุณได้เลย! ▼

comments